วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ตำรวจที่ประชาชนต้องการ

คำว่าตำรวจ มาจากคำว่าตรวจ ซึ่งหมายถึงการตรวจตรารักษาความสงบ ให้ความคุ้มครองดูแลความ
ปลอดภัยแก่สังคม ซึ่งมีประวัติความเป็นมาโดยย่อคือเมื่อ พ.ศ.2403 ล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 เห็นว่า โจรผู้ร้ายมัก
ก่อกวนความสงบแก่ราษฎร ลำพังข้าราชการกรมเมือง มิอาจระงับเหตุการณ์ไม่สงบเรียบร้อยลงได้ง่าย จึงทรงจัดตั้งกองโปลิส หรือกองตำรวจขึ้นตามแบบอย่างสิงคโปร์ และอินเดีย ซึ่งก็ยังอยู่ในเมือหลวง จนกระทั่งมาถึงรัชการที่ 5 ใน พ.ศ.2440 จึงมีการจัดตั้งกรมตำรวจภูธร และมีการจัดตั้งกองตำรวจภูธรมณฑลต่าง ๆตามหัวเมือง เพื่อดูแลความปลอดภัยแก่ประชาชน ป้องกันและปราบปรามโจรผู้ร้ายรวมทั้งรักษาราชพระ-ราชอาณาเขต ซึ่งมีการปฏิบัติลักษณะคล้ายทหาร ต่อมาในรัชกาลที่ 6 เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2457 จึงมีประกาศพบรมราชโองการให้รวมกรมพลตระเวนซึ่งรับผิดชอบเขตมณฑลกรุงเทพ เข้ากับกรมตำรวจภูธร สังกัดกระทรวงมหาดไทย กรมตำรวจจึงเจริญก้าวหน้ามาตามลำดับ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2541 จึงได้เปลี่ยนเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 บัญญัติอำนาจหน้าที่ไว้ว่า
1) รักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาทฯ
2) ดูแลควบคุมและกำกับการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ
3) ป้องกันและปราบกรามการกระทำผิดทางอาญา
4) รักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยแก่ประชาชนและความมั่นคงของราชอาณาจักร
5) ปฏิบัติการอื่นใดที่กฎหมายให้เป็นหน้าที่ของตำรวจ
6) ช่วยเหลือพัฒนาประเทศชาติ
7) ปฏิบัติการอื่นเพื่อส่งเสริมหรือสนับสนุนการปฏิบัติการตามข้อ1)-5) ให้มีประสิทธิภาพ
ปัจจุบันในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ การปฏิบัติงานและการปฏิบัติตัวของตำรวจจึงถูกตรวจสอบอย่างเข้มงวด ทุกอย่างจะต้องโปร่งใส จึงเป็นการถูกต้องแล้วที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พยายามจัดทำโครงการต่างๆ ที่ดึงเอาประชาชนทุกสาขาอาชีพเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายในการบริหารงาน และรับฟังความความคิดเห็นของประชาชนมาปฏิบัติ และให้ความสำคัญในการพัฒนาสถานีตำรวจให้เป็นที่พึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริงมากกว่าในอดีต เพราะหากสถานีตำรวจอยู่ในหัวใจของประชาชนได้แล้ว นั่นย่อมหมายความว่าภาพพจน์ที่ดี ความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนต่อตำรวจจะกลับคืนมา จากที่มีตำรวจเลวๆบางนายได้กระทำไว้ ความร่วมมือของประชาชนในการแจ้งข่าวสารเบาะแสอาชญากรรมต่าง ๆ ก็จะหลั่งไหลเข้ามา ทำให้ง่ายในการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ
จากการที่ผู้เขียนรับราชการตำรวจมานานประมาณ 25 ปี และอยู่ใกล้ชิดประชาชนในพื้นที่ตลอดระยะเวลา 20 ปีเศษ พอจะสรุปเป็นข้อ ๆ ถึงตำรวจที่ดี มีคุณภาพ ที่ประชาชนต้องการได้ดังนี้.
(1) การครองตนของตำรวจ ต้องเป็นคนดี มีศีลธรรม มีคุณธรรม ใช้ชีวิตอย่างสมถะ เรียบง่าย ตาม
ฐานานุรูป ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย
(2)มีจิตวิญญาณความเป็นตำรวจที่จะคอยพิทักษ์รับใช้ประชาชนอย่างแท้จริง และมีความเที่ยงธรรม ตรงไปตรงมาในการปฏิบัติหน้าที่ มีความกระตือรือร้นที่จะช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้เดือดร้อน แม้บางเรื่องไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตำรวจก็ตาม
(3)การต้อนรับขับสู้ประชาชนด้วยมิตรไมตรี การพูดจากับประชาชนทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผู้เสียหายหรือฝ่ายผู้ต้องหา จะต้องกระทำด้วยวาจาที่สุภาพ ไพเราะ มีหางเสียง ไม่ตะคอกและไม่ใช้อารมณ์ แต่จะต้องใช้เหตุผลในการอธิบายความ
(4) การรีดไถ การฉ้อราษฎร์บังหลวง การรับส่วยหรือผลประโยชน์ที่มิควรได้ จะต้องน้อยลง และ
หมดไปในที่สุด
(5)เป็นตำรวจที่ทันยุคทันสมัย ทันเหตุการณ์ หาความรู้ใส่ตัวอยู่เสมอทั้งเรื่องทั่วไปและเรื่องกฎหมาย และมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล หน่วยงานใส่ใจในการพัฒนากำลังพลอยู่ตลอดเวลา
(6)เป็นตำรวจมืออาชีพ และเป็นตำรวจอาชีพ ไม่ใช่แค่มีอาชีพเป็นตำรวจ ประชาชนไม่อยากเห็นตำรวจประกอบอาชีพอื่นเป็นอาชีพหลัก และอาชีพตำรวจเป็นอาชีพเสริม
(7)ประชาชนอยากเห็นการบริหารงานบุคคลของตำรวจดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ทั้งเรื่องการโยกย้าย การแต่งตั้ง การให้บำเหน็จความชอบ ใช้หลักคุณธรรมไม่ใช่ใช้หลักอุปถัมป์อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน การวิ่งเต้นการใช้เส้นสายจะต้องหมดสิ้นไป ตลอดถึงการวางคนให้ตรงกับงานและการสนับสนุนคนดีให้มีตำแหน่งสูงขึ้น สมดั่งพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตอนหนึ่งว่า......ในบ้านเมืองมีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อยจึงไม่ใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้......... เพราะประชาชนรู้แล้วว่าหากผู้บังคับ
บัญชาระดับสูงของตำรวจ ไม่สามารถให้ความเป็นธรรมกับตำรวจผู้ใต้บังคับบัญชาแล้วไซร้ ไหนเลยประชาชน จะได้รับความเป็นธรรมจากตำรวจในระดับผู้ปฏิบัติที่สัมผัสกับประชาชนอย่างแท้จริง
(เจ๋งประชาชนอยากเห็นสถานีตำรวจมีความพร้อม มีกำลังคน และอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานอย่างเพียงพอ และทันสมัย สามารถออกช่วยเหลือประชาชนได้ทันท่วงที
จะเห็นว่าตราบใดที่ยังมีสังคม ยังมีประเทศชาติ ตราบนั้นจำเป็นต้องมีตำรวจอยู่ทำหน้าที่ ประชาชนและสังคมจึงมีความคาดหวังจากจากตำรวจสูง คาดหวังที่จะได้รับความคุ้มครองช่วยเหลือจากตำรวจเมื่อมีภัย จากการสอบถามประชาชนหากมีเรื่องเดือดร้อนไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม สิ่งแรกที่จะนึกถึงคือตำรวจ ดังนั้น การที่จะเป็นตำรวจที่ดี มีคุณภาพ ประชาชนมีความพึงพอใจ คือการที่ตำรวจได้ทำหน้าที่ไปอย่างมี
จิตสำนึกช่วยเหลือพิทักษ์รับใช้ประชาชนอย่างแท้จริง สมดั่งคำที่ว่า “ตำรวจยุคใหม่ หัวใจคือประชาชน

วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เพื่อนแท้

เพื่อนทั่วไปไม่เห็นคุณร้องไห้
เพื่อนแท้มีหัวไหล่ไว้คอยซับน้ำตาให้
เพื่อนทั่วไปถือขวดไวน์ติดมือมางานปาร์ตี้ของคุณ
เพื่อนแท้จะมาแต่หัววันเพื่อช่วยเตรียมงาน
เพื่อนทั่วไปคาดหวังให้คุณอยู่เคียงข้างเขาเสมอ
เพื่อนแท้คาดหวังที่จะอยู่เคียงข้างคุณตลอดไป
เพื่อนทั่วไปอ่านแล้วทิ้งไป
เพื่อนแท้จะส่งต่อ ๆ ไป
ส่งผ่านให้ใครก็ได้ที่คุณห่วงใย
หากคุณได้รับคืน หมายถึงคุณได้พบเพื่อนแท้แล้ว